วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

การทุบตึกสังคมศาสตร์ มศว: เบื้องหลัง

ภาควิชาสังคมวิทยา
คณะสังคมศาสตร์
มศว ประสานมิตร

17 มิถุนายน 2552

เรื่อง ขอความกรุณาให้ทบทวนเกี่ยวกับการทุบบางส่วนของอาคารสังคมศาสตร์
เพื่อลดผลกระทบต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพชีวิตของนิสิต บุคลากร และคณาจารย์ของคณะสังคมศาสตร์

เรียน ท่านอธิการบดี

ตามที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการทุบบางส่วนของอาคารสังคมศาสตร์ เพื่อสร้างอุโมงค์รถใต้ดิน เชื่อมต่อระหว่างที่จอดรถใต้ดินของอาคารริมถนนอโศกมนตรีและอาคารใต้สนามฟุตบอล ความทราบแล้วนั้น

กระผมรับทราบและเข้าใจดีว่า ในการสร้างอุโมงค์ใต้ดินทางรถวิ่งดังกล่าว จำเป็นต้องทุบบางส่วนของอาคารสังคมศาสตร์ เนื่องจากมีเหตุผลและความจำเป็นทางวิศวกรรมที่ยอมรับได้ ในการดำเนินการที่กล่าวมานี้ บางส่วนของอาคารสังคมศาสตร์ที่จะต้องถูกทุบทำลายไป มีจำนวนประมาณไม่เกิน 3 - 4 ช่วงตึก(1 ช่วงตึก คือพื้นที่ระหว่างเสาอาคาร 2 เสา) โดยจำเป็นต้องทุบทำลายทุกชั้นของอาคารในส่วนนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ว่า มหาวิทยาลัยมิได้เพียงแต่ทุบทำลายบางส่วนของอาคารสังคมศาสตร์ที่กล่าวมา เพื่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินเท่านั้น หากแต่ขนาดพื้นที่ของอาคารที่จะถูกทุบทำลาย กินพื้นที่ไปอีกประมาณ 5 ช่วงตึกในส่วนของอาคารสังคมศาสตร์ โดยมีเหตุผลเพียงเพื่อให้ประชาชนที่อยู่บริเวณถนนอโศกสามารถมองเห็นความสง่างามของอาคารด้านในของ มศว โดยเฉพาะอาคารหลังใหม่ที่เรียกกันว่า “อาคารสมเด็จพระเทพฯ”

หากเหตุผลเป็นดังที่กล่าวมาจริง กระผมในนามของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ทุกคน ทุกชั้นปี ในนามของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์ทุกท่าน และในนามของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ทุกคน ขอความกรุณาจากท่านอธิการบดี ได้โปรดกรุณาทบทวนนโยบายการทุบอาคารสังคมศาสตร์ ที่กินพื้นที่เกินไปกว่าความจำเป็นทางด้านวิศวกรรมในการสร้างอุโมงค์ใต้ดิน เนื่องจากการทุบอาคารสังคมศาสตร์ที่เกินความจำเป็นอีกประมาณ 5 ช่วงตึก สร้างผลกระทบและความเสียหายหลายประการ ดังต่อไปนี้

ประการที่ 1 ผลกระทบในแง่ลบต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาต่างๆของคณะสังคมศาสตร์ เนื่องจากว่า ปัจจุบันนี้ ห้องเรียนทั้งหมดของคณะสังคมศาสตร์ได้รับการพัฒนาให้มีอุปกรณ์การสอนที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องฉายเพาเวอร์พ้อยท์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องฉายแผ่นทึบ และไมโครโฟน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของนิสิตในการเรียนรู้ในชั้นเรียน การทุบทำลายอาคารสังคมศาสตร์เพิ่มเติมอีก 5 ช่วงตึกโดยไม่มีความจำเป็นยิ่งยวดนั้น ประการแรก มีค่าเท่ากับเป็นการทำลายโอกาสของนิสิตคณะสังคมศาสตร์โดยไม่เป็นธรรม ในการได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้จากการใช้อุปกรณ์การเรียนรู้เหล่านั้น ประการที่สอง เมื่อห้องเรียนใน 5 ช่วงตึกของอาคารถูกทำลายไป จำนวนห้องเรียนย่อมลดลงไปอย่างถาวรด้วยเป็นจำนวนมาก การขอความช่วยเหลือด้านห้องเรียนจากหน่วยงานอื่นๆใน มศว เป็นสิ่งที่สร้างความลำบากให้แก่คณะสังคมศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง และประการที่สาม หากได้รับการอนุเคราะห์ห้องเรียนจากอาคารอื่นๆ ห้องเรียนเสริมเหล่านั้นก็ไม่มีอุปกรณ์ดังที่เคยมีอยู่พร้อมในคณะสังคมศาสตร์ ความไม่สะดวกเหล่านี้ส่งผลในทางลบต่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของนิสิตโดยไม่เป็นธรรมเป็นอย่างยิ่ง

ประการที่ 2 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการของภาควิชาต่างๆ เนื่องจากบางส่วนของคณะสังคมศาสตร์ที่ถูกทำลายเกินความจำเป็น เป็นพื้นที่ในการใช้งานของสำนักงานภาควิชาและเป็นห้องพักของคณาจารย์ด้วย การสูญเสียพื้นที่ดังกล่าวไปโดยไม่จำเป็นทำให้ต้องโยกย้ายสำนักงานของภาควิชา และห้องพักของคณาจารย์จำนวนไม่น้อย ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการบริหารงานของสำนักงานภาควิชาเท่านั้น ยังทำให้คณาจารย์ที่ต้องย้ายห้องพัก มีความยากลำบากในการทำงานและในการเตรียมการสอนด้วย

ประการที่ 3 ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของนิสิต บุคลากร และคณาจารย์ของคณะสังคมศาสตร์ การทุบทำลายอาคารเพียง 3 – 4 ช่วงตึก ย่อมสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของนิสิต บุคลากร และคณาจารย์ของคณะสังคมศาสตร์ในวงจำกัดเท่าที่จำเป็นและพอยอมรับได้ แต่การทุบทำลายอาคารเกินจำเป็นไปอีกประมาณ 5 ช่วงตึก ย่อมหมายถึงว่า นิสิต บุคลากร และคณาจารย์ต้องทุกข์ทรมานต่อเสียงดังที่เกิดขึ้น การสั่นสะเทือน และฝุ่นผงจำนวนมาก ซึ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิตของพวกเขาเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่าตัว และด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นในสัดส่วนทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่นับว่าอาจจะเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายที่ควบคุมไม่ได้ ต่อพวกเขาอีกส่วนหนึ่งด้วย

ประการที่ 4 ผลกระทบในแง่ของความเสียหาย ในการใช้ประโยชน์ทางการศึกษาในอนาคตของอาคารที่ถูกทุบทำลายไป หากอาคารที่ถูกทุบทำลายโดยไม่จำเป็นประมาณ 5 ช่วงตึกดังกล่าวยังคงอยู่ การใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษาที่ขยายเพิ่มขึ้นในอนาคตก็จะมีอยู่ไม่น้อยทีเดียว หากคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ก็จะเป็นตัวเลขมหาศาล

ประการที่ 5 ผลกระทบในแง่ของความเสียหาย อันเกิดขึ้นมาจากการทำลายสาธารณสมบัติที่มีมูลค่าจำนวนมาก ด้วยเหตุผลที่ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่ยอมรับได้ อาคารจำนวน 5 ช่วงตึกที่ถูกทุบทำลายโดยไม่จำเป็นดังกล่าว สร้างขึ้นด้วยงบประมาณของทางราชการ ซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชนทุกคนในสังคมไทย การทุบทำลายอาคาร 5 ช่วงตึกโดยไร้เหตุผลที่หนักแน่น เท่ากับเป็นการทำลายภาษีอากรของประชาชนอย่างน่าเสียดายและไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง

จากผลกระทบหลายประการและในหลายๆด้าน ที่เกิดขึ้นกับนิสิตจำนวนมาก และกับบุคลากรและคณาจารย์ของคณะสังคมศาสตร์จำนวนไม่น้อยดังที่กล่าวมานี้ กระผมจึงเรียนรบกวนขอความกรุณาจากท่านอธิการบดี ได้โปรดทบทวนแนวทางการทุบทำลายอาคารสังคมศาสตร์บางส่วนที่เกินความจำเป็นข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อรักษาประโยชน์สูงสุดของนิสิตทั้งหมดของคณะสังคมศาสตร์ในด้านการเรียน เพื่อรักษาสาธารณสมบัติของทางราชการให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการศึกษาไปได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน และเพื่อรักษาขวัญและกำลังใจของบุคลากรและคณาจารย์ทุกคน ของคณะสังคมศาสตร์ด้วยเช่นเดียวกัน

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และโปรดกรุณาให้กระผมได้มีโอกาสรับทราบผลการพิจารณาของท่านด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง


ขอแสดงความนับถือ


(อาจารย์สุรพล จรรยากูล)
อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์




ภาควิชาสังคมวิทยา
คณะสังคมศาสตร์
มศว ประสานมิตร
เขตวัฒนา
กทม. 10110


26 มิถุนายน 2552

ข้าพเจ้า ดร.สุรพล จรรยากูล ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา มศว ประสานมิตร
อยู่ที่ 198 ม. 5 ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
โทร 086-898-1801
ในฐานะผู้ฟ้อง


ขอฟ้อง อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ)
อยู่ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท ซอยสุขุมวิท 23
เขตวัฒนา กทม. 10110
ในฐานะผู้ถูกฟ้อง

เนื่องจากท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ) ได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการกระทำทางปกครอง เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของ มศว ในเรื่องการก่อสร้างอาคารใหม่และการทุบอาคารเรียนเดิมคณะสังคมศาสตร์(อาคาร 11) ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตของคณะสังคมศาสตร์จำนวนมาก รวมทั้งก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณสมบัติของทางราชการเกินความจำเป็น โดยมีข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

(1)มหาวิทยาลัยมีโครงการก่อสร้าง “อาคารพัฒนานวัตกรรมและบริการความรู้สู่ชุมชน” บริ เวณริมถนนอโศกมนตรี ฝั่งติดกับมหาวิทยาลัย และอยู่หลังคณะสังคมศาสตร์(อาคาร 11) อาคารดังกล่าวนี้มีพื้นที่จอดรถชั้นใต้ดิน 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 อยู่ใต้อาคารดังกล่าวโดยตรง และส่วนที่ 2 ซึ่งมี 2 ชั้นอยู่ใต้สนามฟุตบอลเดิมซึ่งอยู่หน้าอาคารคณะสังคมศาสตร์

(2)อาคารจอดรถทั้ง 2 ส่วน ขณะที่ก่อสร้างอยู่นี้ มิได้เชื่อมติดกัน เนื่องจากมีอาคารคณะสังคมศาสตร์(อาคาร 11) และอาคารคณะศึกษาศาสตร์(อาคาร 12)ขวางกันอยู่แต่เดิม ก่อนที่จะมีการสร้างอาคารหลังใหม่นี้

(3)ทั้งอาคารคณะสังคมศาสตร์และอาคารคณะศึกษาศาสตร์ เป็นอาคารยาวหลังเดียวกัน สูง 8 ชั้นและมีการสร้างห้องเรียนเพิ่มในชั้นดาดฟ้าชั้นที่ 9 ของทั้ง 2 คณะด้วย ความยาวของอาคารนี้ประมาณ 30 ช่วงตึก แต่แบ่งกึ่งกลางเป็น 2 คณะ โดยส่วนที่อยู่กึ่งกลางเป็นทางหนีไฟและห้องสุขาชายและสุขาหญิง

(4)อุโมงค์ใต้ดินเพื่อเป็นทางรถวิ่งระหว่างพื้นที่จอดรถส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 มีความกว้างประมาณ 2 ช่วงตึก และอยู่ในตำแหน่งของช่วงกึ่งกลางระหว่างคณะสังคมศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์โดยประมาณ ซึ่งเป็นทางหนีไฟและห้องสุขา

(5)ในการสร้างอุโมงค์ใต้ดินเพื่อเชื่อมพื้นที่จอดรถใต้ดินทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวมานี้ จำเป็นต้องทุบบางส่วนของอาคารในส่วนที่เป็นทางหนีไฟและห้องสุขา โดยต้องทุบทุกชั้นและทุบรวมจนไปถึงคานใต้ดิน ด้วยเหตุผลและความจำเป็นทางด้านวิศวกรรม มิเช่นนั้นจะสร้างอุโมงค์เชื่อมไม่ได้

(6)อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยมิได้มีนโยบายที่จะทุบอาคารสังคมศาสตร์เฉพาะส่วนที่เป็นทางหนีไฟและห้องสุขาเท่านั้น แต่ยังมีการทุบทำลายอาคารคณะสังคมศาสตร์ ที่ติดกับทางหนีไฟ ไปอีกจำนวน 5 ช่วงตึกโดยประมาณ จากทั้งหมด 15 ช่วงตึกที่มีอยู่

(7)การทุบอาคารในส่วนของทางหนีไฟและห้องสุขา เพื่อสร้างอุโมงค์รถวิ่งใต้ดินเป็นความจำเป็นที่ยอมรับได้ แต่การทุบทำลายอาคารสังคมศาสตร์อีก 5 ช่วงตึกที่ติดต่อกัน เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะถูกต้องเลย เนื่องจากมหาวิทยาลัยให้เหตุผลอธิบายว่า เพื่อให้สามารถมองเห็นความสง่างามของอาคารสมเด็จพระเทพฯซึ่งอยู่ข้างใน จากมุมมองบริเวณถนนอโศกมนตรีได้อย่างชัดเจน

(8)อาคารสังคมศาสตร์จำนวน 5 ช่วงตึกโดยประมาณ ที่จะถูกทุบทำลายไปในช่วงเดือนสิงหาคม 2552 ที่กำลังจะถึงนี้(ตามที่กล่าวกันไปกล่าวกันมาในคณะสังคมศาสตร์) ตามนโยบายการก่อสร้างของมหาวิทยาลัย สร้างความเดือดร้อนเสียหายหลายประการ ทั้งต่อมหาวิทยาลัยและต่อคณาจารย์ บุคลากรคณะสังคมศาสตร์ และนิสิตของคณะสังคมศาสตร์ที่ใช้อาคารเรียนเป็นจำนวนมาก ดังต่อไปนี้

ประการที่ 1 มูลค่าของอาคารในฐานะสาธารณสมบัติของทางราชการ และมูลค่าที่จะเกิดขึ้นในระยะประมาณ 15 ปีข้างหน้าในการจัดการเรียนการสอน ประมาณ 50 ล้านบาท

ประการที่ 2 เมื่อมีการทุบอาคารในส่วนของทางหนีไฟแล้ว อาคารที่เหลืออยู่ก็ไม่มีทางหนีไฟอีกเลย เรื่องนี้เป็นความเสี่ยงและความประมาทที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้ เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัยและสวัสดิภาพในชีวิตของคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตจำนวนมาก

ประการที่ 3 ผลกระทบด้านสุขภาพจาการทุบอาคาร 5 ช่วงตึก โดยไม่มีความจำเป็นยิ่งยวด หากจำเป็นต้องทุบอาคารบางส่วนเพื่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินให้รถวิ่งถึงกัน เป็นไปโดยจำกัดเท่าที่จำเป็น ความเสียหายและผลกระทบทางด้านสุขภาพก็อยู่ในภาวะจำกัดที่พอยอมรับกันได้ แต่การทุบอาคารเพิ่มอีก 5 ช่วงตึกโดยไม่มีเหตุผลจำเป็นยิ่งยวด ย่อมเป็นการเพิ่มความเสียหายและผลกระทบมากเกินกว่าที่จะยอมรับได้ ทั้งในด้านเสียงรบกวน การสั่นสะเทือน ฝุ่นผงละอองดิน ควันจากเครื่องจักร รวมทั้งการกระเด็นของเศษวัสดุต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายได้

ประการที่ 4 การสูญเสียพื้นที่ในส่วนของห้องพักอาจารย์และสำนักงานภาควิชา ทำให้มีความยากลำบากเกิดขึ้นในการเคลื่อนย้าย ขณะที่มีการเขียนคำฟ้องอยู่นี้ คณาจารย์บางส่วนต้องเคลื่อนย้ายออกไปยังอาคารอื่นๆชั่วคราว โดยไม่ได้รับการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายจากมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบและมีแผนแต่อย่างใด หลังจากนี้ เมื่อมีการปรับปรุงอาคารพัฒนานวัตกรรมและบริการความรู้สู่ชุมชนเสร็จแล้ว คณาจารย์เหล่านั้นต้องเคลื่อนย้ายห้องทำงานอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นความยากลำบากที่ซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็นแต่อย่างใด

ประการที่ 5 การสูญเสียพื้นที่ในส่วนของห้องเรียนของนิสิต ทำให้ต้องเกิดความยากลำบากทั้งต่อนิสิตและต่ออาจารย์ในการจัดการเรียนการสอน อันเนื่องมาจากการต้องเดินทางไปเรียนและไปสอนยังอาคารอื่นๆที่ไกลออกไป ขณะนี้ คณาจารย์เกือบทั้งหมดต้องไปสอนในอาคารอื่นๆเป็นการชั่วคราว ซึ่งห้องเรียนชั่วคราวเหล่านั้นไม่มีความสะดวกเท่าที่เคยมีในคณะสังคมศาสตร์ ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง สภาพเช่นนี้ถือได้ว่าไม่เป็นธรรมต่อนิสิตที่จะได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในฐานะผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง

ประการที่ 6 การสูญเสียงบประมาณของมหาวิทยาลัย ในการจ้างบริษัทเอกชนออกแบบและทุบอาคาร 5 ช่วงตึกดังกล่าวโดยไม่จำเป็น ประมาณ 30 ล้านบาท

ประการที่ 7 คณะสังคมศาสตร์ต้องเสียงบประมาณของคณะสังคมศาสตร์เอง ประมาณ 20 ล้านบาท ในการปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของอาคารพัฒนานวัตกรรมและบริการความรู้สู่ชุมชน ให้เป็นห้องพักอาจารย์และสำนักงานภาควิชาต่างๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยให้พื้นที่ดังกล่าวนี้ เพื่อทดแทนพื้นที่อาคารเรียนที่เสียไปจากการทุบอาคาร งบประมาณเงินรายได้ส่วนนี้เป็นงบประมาณรายได้ของคณะ ที่คณาจารย์ทั้งหมดของคณะมีส่วนร่วม ในภารกิจการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ได้งบประมาณ ดังกล่าว หากคณาจารย์ของคณะสังคมศาสตร์อยู่ในอาคารเดิม และมีห้องเรียนเช่นเดิมเพราะไม่มีการทุบอาคารดังกล่าว งบประมาณจำนวนนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนของคณาจารย์และนิสิตทั้งคณะเลยที่เดียว

(9)การดำเนินการเกี่ยวกับการทุบบางส่วน ของอาคารคณะสังคมศาสตร์โดยมหาวิทยาลัยที่กล่าวมานี้ มหาวิทยาลัยไม่เคยสอบถามความคิดเห็นจากบุคลากร คณาจารย์ และนิสิตของคณะสังคมศาสตร์แต่อย่างใด ไม่มีการดำเนินการที่เรียกว่า pre-feasibility study แต่อย่างใด จึงไม่สามารถแจ้งให้ผู้ได้รับผลกระทบทราบได้อย่างชัดเจนว่า จำดำเนินการในวันใดแน่นอน หรือมีแผนในการอพยพเคลื่อนย้ายอะไรบ้าง หรือแผนป้องกันภัยกรณีฉุกเฉิน ในเรื่องของ health impact assessment(HIA) ก็ไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด

กระผมขอความกรุณาจากศาลได้โปรดมีคำสั่ง เพื่อ

(1)ให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ยกเลิกการทุบอาคารคณะสังคมศาสตร์ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างอุโมงค์รถใต้ดิน เนื่องจากเป็นการทำลายสาธารณสมบัติของราชการ และก่อความเดือดร้อนทั้งต่อสุขภาพ และต่อการเรียนการสอนของคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์จำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของทางราชการจำนวนมาก โดยไม่จำเป็น

(2)ให้มหาวิทยาลัยดำเนินการโดยเร็วในส่วนของการทำ pre-feasibility study และ HIA รวมไปถึงการสอบถามความคิดเห็น ของผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะของการประชาพิจารณ์ รวมทั้งการจัดทำแผนการอพยพเคลื่อนย้ายและแผนความปลอดภัย รองรับการทุบอาคารเท่าที่จำเป็นดังกล่าวด้วย

กระผมจึงขอความกรุณาให้ท่านตุลาการศาลปกครองกลาง ได้โปรดพิจารณาและวินิจฉัยคำฟ้องของกระผม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อกระผม ต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆจำนวนมากที่กล่าวมา รวมทั้งเพื่อเป็นการรักษาประโยชน์ของทางราชการโดยรวมด้วย

(ลงชื่อ) ............................................. ผู้ฟ้องคดี
(ดร.สุรพล จรรยากูล)


ภาควิชาสังคมวิทยา
คณะสังคมศาสตร์
มศว ประสานมิตร

3 ธันวาคม 2552

เรื่อง ร้องทุกข์เนื่องจากมีความคับข้องใจอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานในห้องทำงานที่ภาวะแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์

เรียน ท่านประธานคณะกรรมการอุทธรณ์ฯ

ตามที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการทุบทิ้งอาคารสังคมศาสตร์บางส่วน ขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของอาคารเดิมด้านที่เชื่อมกับคณะศึกษาศาสตร์ เพียงเพื่อให้บุคคลภายนอกมองเห็นอาคารภายใน มศว ได้กว้างขึ้นนั้น บัดนี้ มหาวิทยาลัยได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนให้เริ่มดำเนินการทุบอาคารตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมา

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกระผมและคณาจารย์ของคณะสังคมศาสตร์ ก็คือ กระผมและคณาจารย์ทั้งหมด รวมทั้งบุคลากรสนับสนุนทั้งหมดด้วย(ยกเว้นคณาจารย์ภาควิชาบริหารธุรกิจ) จำเป็นต้องย้ายไปทำงานยังอาคารพัฒนานวัตกรรมฯซึ่งอยู่ด้านหลังอาคารสังคมศาสตร์ โดยที่ภาควิชาสังคมวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ และคณบดีพร้อมด้วยกรรมการบริหารคณะทั้งหมด ต้องไปอยู่แบบกระจุกตัวกันใน 3 ชั้นของอาคารใหม่(คือชั้น 10, 11 และ 12) ในลักษณะของการอยู่ชั่วคราว ที่มีช่วงระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาเป็นอย่างน้อย(ภาคการศึกษาที่ 2/2552) เพราะต้องรอจนกว่าการก่อสร้างของชั้นอื่นๆเสร็จเรียบร้อย จึงจะเคลื่อนย้ายไปยังสำนักงานจริงของแต่ละภาควิชาอีกครั้งหนึ่ง แต่ขณะนี้ยังมิได้มีการเริ่มการก่อสร้างแต่อย่างใด

การโยกย้ายสถานที่ทำงานอย่างเร่งรีบ ด้วยภาวะบีบคั้นจากความไม่ปลอดภัยจากการทุบอาคารสังคมศาสตร์ข้างต้นที่จะเกิดขึ้น(ทั้งนี้ เนื่องจากว่ามหาวิทยาลัยไม่ช่วยเหลือในการเตรียมการให้อย่างเหมาะสม) ผนวกกับความไม่พร้อมและความไม่เหมาะสมของอาคารใหม่ที่จะใช้เป็นสถานที่ทำงาน สร้างความลำบาก ความอึดอัด ความคับข้องใจ และเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการทำงานของกระผมและคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ดังต่อไปนี้

(1)สภาพห้องทำงานของอาจารย์ที่มีลักษณะเป็นห้องโถง แต่นำเอา partition แบบชั่วคราว มาจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนคือ 1 ห้องทำงานของอาจารย์แต่ละคน แต่ละส่วน(หรือห้อง)มีพื้นที่สำหรับโต๊ะวางคอมพิวเตอร์จำนวน 2 ตัวและวางเก้าอื้ 2 ตัวคู่กัน ผลที่เกิดขึ้นในสภาพการทำงานเช่นที่กล่าวมานี้ ได้แก่
-ความเป็นส่วนตัวของอาจารย์แต่ละท่านถูกทำลายลงสิ้น สภาพเหมือนพนักงานธนาคารในส่วน front office
-สมาธิในการทำงาน ในการอ่าน การเขียนงานทางวิชาการสูญเสียไปค่อนข้างมาก
-ไม่มีพื้นที่สำหรับวางหนังสือ เอกสาร หรือรายงานของนิสิตอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เนื่องจากความจำกัดของพื้นที่โดยรวมของห้องโถง
-เอกสารทางวิชาการยังถูกเก็บไว้ในอาคารเดิม การเข้าไปในอาคารเดิมเพื่อค้นหาเอกสารมีข้อจำกัดมากมาย และไม่มีลิฟท์ให้ใช้อีกแล้ว เพราะถูกปิดไว้ในส่วนของเขตทุบอาคาร
-ไม่มีพื้นที่ในการมีปฏิสัมพันธ์กับนิสิตเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
-การเดินทางไปยังห้องเรียนชั่วคราวในอาคารอื่นๆสร้างความลำบากให้แก่คณาจารย์ไม่น้อย ยิ่งเป็นอาจารย์อาวุโส ความลำบากยิ่งมากขึ้น
-ห้องเรียนชั่วคราวบางส่วนมีสภาพไม่เอื้อต่อการสอนและการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ทั้งในแง่ของอุปกรณ์และสภาพห้อง
-คณาจารย์ต้องแบกสัมภาระในการสอนทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับระหว่างห้องเรียนกับที่พักด้วยความยากลำบากมากขึ้น โดยจุดที่ไกลที่สุดคือห้องเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์
โดยภาพรวมแล้ว สภาพแวดล้อมที่กล่าวมาข้างต้นบั่นทอนการปฏิบัติงานในหน้าที่ของอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง อาจารย์อาวุโสบางท่านกล่าวว่า ทำงานไม่มีความสุขเลย

(2)การติดตั้งลิฟท์ เสียงรบกวน และฝุ่นจากการเจาะพื้นและผนังอาคาร ก่อนที่คณาจารย์จะเคลื่อนย้ายไปยังอาคารใหม่ ลิฟท์ในส่วนของคณะสังคมศาสตร์ยังไม่มีการดำเนินการติดตั้งไว้ให้เรียบร้อย เมื่อคณาจารย์ย้ายเข้าไปอยู่ทำงานชั่วคราว จึงเริ่มมีการติดตั้งลิฟท์ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2552 ดังนั้น เมื่อมีการเจาะอาคารเสียงรบกวนจึงดังมากเกินกว่าจะทนฟังได้ และรบกวนสมาธิอย่างมากทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีฝุ่นซีเมนต์คอนกรีตที่เกิดขึ้นฟ้งกระจายไปทั่ว รบกวนสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างยิ่ง

(3)ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทะลุกระจกอาคาร เนื่องจากเป็นการอาศัยชั่วคราว การติดตั้งวัสดุกันแสงแดดจึงไม่มี คณาจารย์ที่นั่งริมกระจกจึงเดือนร้อนจากแสงสว่างและความร้อนเกินควร แต่ละคนก็แก้ไขความเดือดร้อนเฉพาะตัวกันไปด้วยการหาวัสดุอื่นๆมาปิดกั้นแสงแดดและความร้อน

(4)กลิ่นเหม็นจากท่อระบายกลิ่นของระบบสุขา ในช่วงเดือนพฤศจิกายนคณาจารย์และบุคลากรที่อยู่ในชั้น 12 ได้รับความเดือนร้อนมากจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ อันเนื่องมาจากระบบระบายกลิ่นจากสุขาที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะระบบพัดลมมีปัญหา อีกทั้งปลายทางของกลิ่นอยู่ที่ชั้น 13 แต่ระบายออกไม่ดี จึงุสุมตัวไว้ที่ชั้น 12 แทน โดยเคลื่อนผ่านทางฝ้าเพดาน อาจารย์บางท่านบอกว่า เมื่อได้กลิ่นดังกล่าวเกือบจะอาเจียน

(5)ระบบน้ำประปาที่ไม่เอื้ออำนวยต่อเครื่องทำน้ำดื่มสะอาดที่มีอยู่ ทั้งๆที่มีเครื่องกรองน้ำสะอาดราคาแพงและสามารถทำน้ำร้อนได้ แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากไม่มีการติดตั้งระบบประปารองรับเอาไว้ ส่งผลต่อการมีน้ำดื่มสะอาดค่อนข้างมากทีเดียว

(6)พื้นทางเดินในอาคารก่อนที่จะเข้าสู่สำนักงานที่ไม่เหมาะสมแก่การทำงาน เพราะมีฝุ่นซีเมนต์คอนกรีตและเช็ดถูไม่ได้ เนื่องจากอยู่ในสภาพเดิมๆหลังจากเทปูนเสร็จแล้ว ไม่ได้มีการขัดมันหรือปูกระเบื้องแต่อย่างใด ดังนั้น จึงมีฝุ่นซีเมนต์คอนกรีตกระจายทั่วไป ทุกครั้งที่เดินเข้าสำนักงานฝุ่นจะติดรองเท้าเข้าไปด้วยเสมอและกระจายอยู่ในระบบหมุนเวียนของอากาศในสำนักงานตลอดเวลา บั่นทอนต่อระบบทางเดินหายใจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์หรือบุคลากรที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจจะบอกได้เลยสภาพอากาศแย่มาก

(7)ทางเดินเขาอาคารที่ยังมีสภาพเหมือน“เขตก่อสร้างห้ามเข้า” ไม่เหมาะสมที่จะให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตใช้สอย ทางเดินเข้าอาคารเดิมอยู่ในสภาพที่ไม่คำนึงถึงคนพิการและผู้สูงวัย เพราะอยู่ในภาวะ“ระหว่างก่อสร้าง” และมีวัสดุก่อสร้างวางเกะกะ มีหัวตะปูโผล่ขึ้นมาจากพื้นไม้เสี่ยงอันตรายมาก และทางเดินเดิมน่ากลัวมากในเวลาพลบค่ำ ขณะนี้ถูกยกเลิกไป และมีการทำทางเดินใหม่ชั่วคราวให้ผ่านด้านหลังองค์พระซึ่งค่อนข้างลับตาคน ดังนั้น อาจารย์หรือบุคลากรผู้หญิงที่ทำงานหลัง 6 โมงเย็นในสำนักงาน จึงอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอังตรายยื่ง ทั้งเมื่อออกจากสำนักงานภายในอาคารและเมื่อออกจากอาคารเพื่อไปตามทางเดินใหม่

(8)ความไม่ปลอดภัยอย่างยิ่งภายหลังเวลา 17.30 น. ในการอยู่ในอาคาร และเดินออกจากสำนักงานมาที่ลิฟท์เพื่อลงข้างล่าง และออกจากอาคารไปด้านนอก เพราะระบบไฟฟ้าไม่ได้ติดตั้งไว้อย่างสมบูรณ์ จึงใช้ดวงไฟเสียบปลั๊กชั่วคราว แสงสว่างไม่พียงพอ แต่ละชั้นที่ลิฟท์ผ่านมีพื้นที่เป็นมุมอับ ซอกมืด ห้องเล็กลับตาคน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมได้โดยไม่ยาก(แม้จะมี รปภ.ด้านล่างอาคารก็ตาม)

สภาพปัญหา อุปสรรค และความคับข้องใจทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น มิได้เกิดจากความบกพร่องในการบริหารจัดการของคณะสังคมศาสตร์แต่อย่างใด หากแต่เกิดจากความบกพร่องในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ที่มิได้วางแผนเกี่ยวกับช่วงเวลาไว้อย่างดีพอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทุบอาคารสังคมศาสตร์ การเตรียมการก่อสร้างสำนักงานใหม่ของภาควิชาในอาคารใหม่ และการโยกย้ายคณาจารย์ไปยังอาคารใหม่ ที่กระผมกล่าวเช่นนี้ กระผมไม่ได้มีเจตนากล่าวหามหาวิทยาลัยให้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่มีข้อเท็จจริงรองรับ ดังต่อไปนี้

(1)มหาวิทยาลัยเพิ่งว่าจ้างบริษัทเอกชนเพื่อทุบอาคารสังคมศาสตร์ ในราวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้เอง และมีช่วงสัญญาการทำงานประมาณ 190 วัน(น่าจะเสร็จไม่เกินเดือนมิถุนายน 2553)

(2)มหาวิทยาลัยแจ้งคณะสังคมศาสตร์อย่างเป็นทางการ ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2551 (ผ่านมาประมาณ 1 ปีแล้ว) เพื่อให้เตรียมเคลื่อนย้ายไปยังอาคารใหม่ในราวเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่อาคารใหม่สร้างเสร็จตามสัญญา โดยที่คณะสังคมศาสตร์ต้องไปจัดสร้างสำนักงานใหม่เองทั้งหมด ซึ่งต้องมีกระบวนการราชการในการออกแบบ การประมูล การดำเนินการ และการรับมอบงานที่ใช้เวลาตามระเบียบราชการ

(3)คณะสังคมศาสตร์สอบถามมหาวิทยาลัยเรื่องแผนการทุบตึก เกี่ยวกับช่วงเวลาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อจะได้เตรียมการได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ได้รับคำตอบหรือคำชี้แจงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด บุคลากรของคณะทั้งหมดก็ไม่ได้รับการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากมหาวิทยาลัยในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน เพียงแต่มีการสื่อสารด้วยวาจาภายในคณะสังคมศาสตร์เป็นระยะๆว่าจะต้องมีการทุบตึกในเดือนเมษายน 2552 บ้าง เดือนมิถุนายน 2552 บ้าง เดือนสิงหาคม 2552 บ้าง และเดือนตุลาคม 2552 บ้าง จนในที่สุดจึงรู้ความจริงว่าเป็นกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 เพราะวิศวกรของบริษัทรับเหมาเป็นผู้แจ้งให้ทราบ

(4)ในประมาณวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2552 มีการดำเนินการรื้อหลังคากระเบื้องของอาคารสังคมศาสตร์ ชั้น 9 โดยที่ไม่มีมาตรการป้องกันด้านข้างและด้านล่างแต่อย่างใดเลย และไม่มีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า โชคดีที่ไม่มีอุบัติเหตุใดๆเกิดขึ้นแก่คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตผู้สัญจรด้านล่างตามทางเดินเพื่อเข้าอาคารใหม่ เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงความหละหลวมและไร้ประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน ในการประสานงาน การติดตาม และการควบคุมการทำงานของบริษัทผู้รับเหมา ที่ไม่เป็นไปตาม TOR

จากข้อเท็จจริงที่กระผมนำเรียนมาข้างต้น จะเห็นได้ว่านับจากเดือนมีนาคม 2552 ที่อาคารใหม่สร้างเสร็จตามสัญญา จนถึงวันที่มหาวิทยาลัยว่าจ้างบริษัททุบอาคารสังคมศาสตร์ มีช่วงระยะเวลาห่างกันนานถึง 8 เดือน หากในช่วงนี้ มหาวิทยาลัยดำเนินการอย่างจริงจังและอย่างใส่ใจ เพื่อให้การสร้างสำนักงานใหม่ของคณะสังคมศาสตร์ในอาคารใหม่ เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์สำหรับทุกภาควิชา ก่อนเดือนพฤศจิกายน 2552 แล้ว เมื่อคณาจารย์และบุคลากรย้ายมายังอาคารใหม่ ห้องทำงานของคณาจารย์จะอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่การใช้งาน และไม่เกิดปัญหาอุปสรรคหลายประการที่กล่าวมา เพราะไม่มีปัญหาเรื่องการติดตั้งลิฟท์ที่ส่งเสียงรบกวนดังมาก ไม่เกิดปัญหาฝุ่นจากการเจาะผนังอาคาร ไม่ต้องเดินผ่านพื้นอาคารที่ไม่เสร็จและมีฝุ่นซีเมนต์ รวมทั้งปัญหาความปลอดภัย และอื่นๆอีกหลายประการ และที่สำคัญก็คือ ในช่วงภาคการศึกษาที่ 1/2552 ที่ผ่านมา จะไม่เกิดภาวะฉุกละหุกเกินเหตุในการเก็บหนังสือใส่กล่องของคณาจารย์ และไม่เกิดภาวะนิสิตย้ายห้องเรียนไปยังอาคารอื่นๆที่เป็นปัญหา เพราะคณะสังคมศาสตร์สามารถวางแผนใช้อาคารเรียนทั้งอาคารได้อย่างเต็มที่ ก่อนจะย้ายไปสู่อาคารใหม่ที่ห้องทำงานสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว

สภาพการณ์ทั้งหมดที่กระผมนำเรียนมา อาจไม่ทำให้คณะกรรมการอุทธรณ์ฯเห็นถึงภาวะบีบค้นที่กระผมและคณาจารย์อื่นๆประสบอยู่ได้อย่างชัดเจนนัก กระผมจึงร้องขอให้คณะกรรมการฯดำเนินการนำสืบ ณ สถานที่เกิดเหตุในช่วงเวลากลางวันและเวลาพลบค่ำด้วย(ประมาณ 6.00-6.30 น.) เพื่อจะได้เห็นถึงสภาพปัญหาที่แท้จริง และเชิญผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาให้ข้อมูลให้เกิดความกระจ่าง และร่วมกันหาทางเยียวยาที่เหมาะสมให้แก่กระผมและคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์อื่นๆด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ


(ดร.สุรพล จรรยากูล)
อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา



ด่วนที่สุด

ภาควิชาสังคมวิทยา
คณะสังคมศาสตร์
มศว ประสานมิตร

10 มีนาคม 2553

เรื่อง การขนย้ายสิ่งของของ อ.สุรพล จรรยากูล ออกจากอาคารคณะสังคมศาสตร์

เรียน ท่านรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ

อ้างถึง บันทึกข้อความ ศูนย์พัฒนาสภาพกายภาพฯ ที่ ศธ 0519.1.115(16)/190 เรื่อง ขอความ
อนุเคราะห์ดำเนินการขนย้ายฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม 2553

ตามบันทึกข้อความที่อ้างถึง มหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนขอให้กระผมดำเนินการขนย้ายสิ่งของออกจากห้องทำงานในอาคารคณะสังคมศาสตร์ ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2553 ความทราบแล้วนั้น

กระผมขอเรียนว่า กระผมมิได้มีเจตนาในการขัดขวางหรือสร้างอุปสรรคในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนแต่อย่างใด หากแต่ว่า ในช่วงที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้คณาจารย์และบุคลากรย้ายสิ่งของไปยังที่ทำการใหม่ชั่วคราวนั้น สภาพแวดล้อมในที่ทำงานใหม่ไม่เหมาะสมต่อการทำงานทางด้านวิชาการเป็นอย่างยิ่ง โดยกระผมขอนำเรียนข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

กระผมและคณาจารย์ทั้งหมด รวมทั้งบุคลากรสนับสนุนทั้งหมดด้วย(ยกเว้นคณาจารย์ภาควิชาบริหารธุรกิจ) จำเป็นต้องย้ายไปทำงานยังอาคารพัฒนานวัตกรรมฯซึ่งอยู่ด้านหลังอาคารสังคมศาสตร์ โดยที่ภาควิชาสังคมวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ และคณบดีพร้อมด้วยกรรมการบริหารคณะทั้งหมด ต้องไปอยู่แบบกระจุกตัวกันใน 3 ชั้นของอาคารใหม่(คือชั้น 10, 11 และ 12) ในลักษณะของการอยู่ชั่วคราว ที่มีช่วงระยะเวลาประมาณมากกว่า 1 ภาคการศึกษา(ภาคการศึกษาที่ 2/2552) เพราะต้องรอจนกว่าการก่อสร้างของชั้นอื่นๆเสร็จเรียบร้อย จึงจะเคลื่อนย้ายไปยังสำนักงานจริงของแต่ละภาควิชาอีกครั้งหนึ่ง แต่ขณะนี้ยังมิได้มีการเริ่มการก่อสร้างแต่อย่างใด

การโยกย้ายสถานที่ทำงานอย่างเร่งรีบ ด้วยภาวะบีบคั้นจากความไม่ปลอดภัยจากการทุบอาคารสังคมศาสตร์ข้างต้นที่จะเกิดขึ้น(ทั้งนี้ เนื่องจากว่ามหาวิทยาลัยไม่ช่วยเหลือในการเตรียมการให้อย่างเหมาะสม) ผนวกกับความไม่พร้อมและความไม่เหมาะสมของอาคารใหม่ที่จะใช้เป็นสถานที่ทำงาน สร้างความลำบาก ความอึดอัด ความคับข้องใจ และเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการทำงานของกระผมและคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ดังต่อไปนี้

(1)สภาพห้องทำงานของอาจารย์ที่มีลักษณะเป็นห้องโถง แต่นำเอา partition แบบชั่วคราว มาจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนคือ 1 ห้องทำงานของอาจารย์แต่ละคน แต่ละส่วน(หรือห้อง)มีพื้นที่สำหรับโต๊ะวางคอมพิวเตอร์จำนวน 2 ตัวและวางเก้าอื้ 2 ตัวคู่กัน ผลที่เกิดขึ้นในสภาพการทำงานเช่นที่กล่าวมานี้ ได้แก่
-ความเป็นส่วนตัวของอาจารย์แต่ละท่านถูกทำลายลงสิ้น สภาพเหมือนพนักงานธนาคารในส่วน front office
-สมาธิในการทำงาน ในการอ่าน การเขียนงานทางวิชาการสูญเสียไปค่อนข้างมาก
-ไม่มีพื้นที่สำหรับวางหนังสือ เอกสาร หรือรายงานของนิสิตอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เนื่องจากความจำกัดของพื้นที่โดยรวมของห้องโถง
-เอกสารทางวิชาการยังถูกเก็บไว้ในอาคารเดิม การเข้าไปในอาคารเดิมเพื่อค้นหาเอกสารมีข้อจำกัดมากมาย และไม่มีลิฟท์ให้ใช้อีกแล้ว เพราะถูกปิดไว้ในส่วนของเขตทุบอาคาร
-ไม่มีพื้นที่ในการมีปฏิสัมพันธ์กับนิสิตเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
-การเดินทางไปยังห้องเรียนชั่วคราวในอาคารอื่นๆสร้างความลำบากให้แก่คณาจารย์ไม่น้อย ยิ่งเป็นอาจารย์อาวุโส ความลำบากยิ่งมากขึ้น
-ห้องเรียนชั่วคราวบางส่วนมีสภาพไม่เอื้อต่อการสอนและการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ทั้งในแง่ของอุปกรณ์และสภาพห้อง
-คณาจารย์(โดยเฉพาะคณาจารย์อาวุโส)ต้องแบกสัมภาระในการสอน ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับระหว่างห้องเรียนกับที่พักด้วยความยากลำบากมากขึ้น โดยจุดที่ไกลที่สุดคือห้องเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์
โดยภาพรวมแล้ว สภาพแวดล้อมที่กล่าวมาข้างต้นบั่นทอนการปฏิบัติงานในหน้าที่ของอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง อาจารย์อาวุโสบางท่านกล่าวว่า ทำงานไม่มีความสุขเลย

(2)การติดตั้งลิฟท์ เสียงรบกวน และฝุ่นจากการเจาะพื้นและผนังอาคาร ก่อนที่คณาจารย์จะเคลื่อนย้ายไปยังอาคารใหม่ ลิฟท์ในส่วนของคณะสังคมศาสตร์ยังไม่มีการดำเนินการติดตั้งไว้ให้เรียบร้อย เมื่อคณาจารย์ย้ายเข้าไปอยู่ทำงานชั่วคราว จึงเริ่มมีการติดตั้งลิฟท์ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2552 ดังนั้น เมื่อมีการเจาะอาคารเสียงรบกวนจึงดังมากเกินกว่าจะทนฟังได้ และรบกวนสมาธิอย่างมากทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีฝุ่นซีเมนต์คอนกรีตที่เกิดขึ้นฟ้งกระจายไปทั่ว รบกวนสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างยิ่ง

(3)ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทะลุกระจกอาคาร เนื่องจากเป็นการอาศัยชั่วคราว การติดตั้งวัสดุกันแสงแดดจึงไม่มี คณาจารย์ที่นั่งริมกระจกจึงเดือนร้อนจากแสงสว่างและความร้อนเกินควร แต่ละคนก็แก้ไขความเดือดร้อนเฉพาะตัวกันไปด้วยการหาวัสดุอื่นๆมาปิดกั้นแสงแดดและความร้อน

(4)กลิ่นเหม็นจากท่อระบายกลิ่นของระบบสุขา ในช่วงเดือนพฤศจิกายนคณาจารย์และบุคลากรที่อยู่ในชั้น 12 ได้รับความเดือนร้อนมากจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ อันเนื่องมาจากระบบระบายกลิ่นจากสุขาที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะระบบพัดลมมีปัญหา อีกทั้งปลายทางของกลิ่นอยู่ที่ชั้น 13 แต่ระบายออกไม่ดี จึงุสุมตัวไว้ที่ชั้น 12 แทน โดยเคลื่อนผ่านทางฝ้าเพดาน อาจารย์บางท่านบอกว่า เมื่อได้กลิ่นดังกล่าวเกือบจะอาเจียน

(5)ระบบน้ำประปาที่ไม่เอื้ออำนวยต่อเครื่องทำน้ำดื่มสะอาดที่มีอยู่ ทั้งๆที่มีเครื่องกรองน้ำสะอาดราคาแพงและสามารถทำน้ำร้อนได้ แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากไม่มีการติดตั้งระบบประปารองรับเอาไว้ ส่งผลต่อการมีน้ำดื่มสะอาดค่อนข้างมากทีเดียว

(6)พื้นทางเดินในอาคารก่อนที่จะเข้าสู่สำนักงานที่ไม่เหมาะสมแก่การทำงาน เพราะมีฝุ่นซีเมนต์คอนกรีตและเช็ดถูไม่ได้ เนื่องจากอยู่ในสภาพเดิมๆหลังจากเทปูนเสร็จแล้ว ไม่ได้มีการขัดมันหรือปูกระเบื้องแต่อย่างใด ดังนั้น จึงมีฝุ่นซีเมนต์คอนกรีตกระจายทั่วไป ทุกครั้งที่เดินเข้าสำนักงานฝุ่นจะติดรองเท้าเข้าไปด้วยเสมอและกระจายอยู่ในระบบหมุนเวียนของอากาศในสำนักงานตลอดเวลา บั่นทอนต่อระบบทางเดินหายใจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์หรือบุคลากรที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจจะบอกได้เลยสภาพอากาศแย่มาก

(7)ทางเดินเขาอาคารที่ยังมีสภาพเหมือน“เขตก่อสร้างห้ามเข้า” ไม่เหมาะสมที่จะให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตใช้สอย ทางเดินเข้าอาคารเดิมอยู่ในสภาพที่ไม่คำนึงถึงคนพิการและผู้สูงวัย เพราะอยู่ในภาวะ“ระหว่างก่อสร้าง” และมีวัสดุก่อสร้างวางเกะกะ มีหัวตะปูโผล่ขึ้นมาจากพื้นไม้เสี่ยงอันตรายมาก และทางเดินเดิมน่ากลัวมากในเวลาพลบค่ำ ขณะนี้ถูกยกเลิกไป และมีการทำทางเดินใหม่ชั่วคราวให้ผ่านด้านหลังองค์พระซึ่งค่อนข้างลับตาคน ดังนั้น อาจารย์หรือบุคลากรผู้หญิงที่ทำงานหลัง 6 โมงเย็นในสำนักงาน จึงอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายยิ่ง ทั้งเมื่อออกจากสำนักงานภายในอาคารและเมื่อออกจากอาคารเพื่อไปตามทางเดินใหม่

(8)ความไม่ปลอดภัยอย่างยิ่งภายหลังเวลา 17.30 น. ในการอยู่ในอาคาร และเดินออกจากสำนักงานมาที่ลิฟท์เพื่อลงข้างล่าง และออกจากอาคารไปด้านนอก เพราะระบบไฟฟ้าไม่ได้ติดตั้งไว้อย่างสมบูรณ์ จึงใช้ดวงไฟเสียบปลั๊กชั่วคราว แสงสว่างไม่พียงพอ แต่ละชั้นที่ลิฟท์ผ่านมีพื้นที่เป็นมุมอับ ซอกมืด ห้องเล็กลับตาคน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมได้โดยไม่ยาก(แม้จะมี รปภ.ด้านล่างอาคารก็ตาม)

(9)ระบบการปิดประตูห้องทำงานรวม ไม่สามารถประกันความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคลากรได้ เนื่องจาก เมื่อบุคลากรออกจากห้องทำงานหมดแล้ว จะไม่มีการปิดล็อกประตูห้องแต่อย่าง ใด เพราะวิศวกรดูแลอาคารจะรับผิดชอบในส่วนนี้ ดังนั้น ในระหว่างที่ยังไม่มีการล็อกประตู ความเสี่ยงในการเกิดการสูญหายจึงมีมากทีเดียว

สภาพปัญหา อุปสรรค และความคับข้องใจทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น มิได้เกิดจากความบกพร่องในการบริหารจัดการของคณะสังคมศาสตร์แต่อย่างใด หากแต่เกิดจากความบกพร่องในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ที่มิได้วางแผนเกี่ยวกับช่วงเวลาไว้อย่างดีพอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทุบอาคารสังคมศาสตร์ การเตรียมการก่อสร้างสำนักงานใหม่ของภาควิชาในอาคารใหม่ และการโยกย้ายคณาจารย์ไปยังอาคารใหม่ ที่กระผมกล่าวเช่นนี้ กระผมไม่ได้มีเจตนากล่าวหามหาวิทยาลัยให้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่มีข้อเท็จจริงรองรับ ดังต่อไปนี้

(1)มหาวิทยาลัยเพิ่งว่าจ้างบริษัทเอกชนเพื่อทุบอาคารสังคมศาสตร์ ในราวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้เอง และมีช่วงสัญญาการทำงานประมาณ 190 วัน(น่าจะเสร็จไม่เกินเดือนมิถุนายน 2553 แต่เสร็จสิ้นในราวเดือนมกราคม 2553)

(2)มหาวิทยาลัยแจ้งคณะสังคมศาสตร์อย่างเป็นทางการ ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2551 (ผ่านมาประมาณ 1 ปีแล้ว) เพื่อให้เตรียมเคลื่อนย้ายไปยังอาคารใหม่ในราวเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่อาคารใหม่สร้างเสร็จตามสัญญา โดยที่คณะสังคมศาสตร์ต้องไปจัดสร้างสำนักงานใหม่เองทั้งหมด ซึ่งต้องมีกระบวนการราชการในการออกแบบ การประมูล การดำเนินการ และการรับมอบงานที่ใช้เวลาตามระเบียบราชการ

(3)คณะสังคมศาสตร์สอบถามมหาวิทยาลัยเรื่องแผนการทุบตึก เกี่ยวกับช่วงเวลาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อจะได้เตรียมการได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ได้รับคำตอบหรือคำชี้แจงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด บุคลากรของคณะทั้งหมดก็ไม่ได้รับการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากมหาวิทยาลัยในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน เพียงแต่มีการสื่อสารด้วยวาจาภายในคณะสังคมศาสตร์เป็นระยะๆว่าจะต้องมีการทุบตึกในเดือนเมษายน 2552 บ้าง เดือนมิถุนายน 2552 บ้าง เดือนสิงหาคม 2552 บ้าง และเดือนตุลาคม 2552 บ้าง จนในที่สุดจึงรู้ความจริงว่าเป็นกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 เพราะวิศวกรของบริษัทรับเหมาเป็นผู้แจ้งให้ทราบ

(4)ในประมาณวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2552 มีการดำเนินการรื้อหลังคากระเบื้องของอาคารสังคมศาสตร์ ชั้น 9 โดยที่ไม่มีมาตรการป้องกันด้านข้างและด้านล่างแต่อย่างใดเลย และไม่มีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า โชคดีที่ไม่มีอุบัติเหตุใดๆเกิดขึ้นแก่คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตผู้สัญจรด้านล่างตามทางเดินเพื่อเข้าอาคารใหม่ เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงความหละหลวมและไร้ประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน ในการประสานงาน การติดตาม และการควบคุมการทำงานของบริษัทผู้รับเหมา ที่ไม่เป็นไปตาม TOR

จากข้อเท็จจริงที่กระผมนำเรียนมาข้างต้น จะเห็นได้ว่านับจากเดือนมีนาคม 2552 ที่อาคารใหม่สร้างเสร็จตามสัญญา จนถึงวันที่มหาวิทยาลัยว่าจ้างบริษัททุบอาคารสังคมศาสตร์ มีช่วงระยะเวลาห่างกันนานถึง 8 เดือน หากในช่วงนี้ มหาวิทยาลัยดำเนินการอย่างจริงจังและอย่างใส่ใจ เพื่อให้การสร้างสำนักงานใหม่ของคณะสังคมศาสตร์ในอาคารใหม่ เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์สำหรับทุกภาควิชา ก่อนเดือนพฤศจิกายน 2552 แล้ว เมื่อคณาจารย์และบุคลากรย้ายมายังอาคารใหม่ ห้องทำงานของคณาจารย์จะอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่การใช้งาน และไม่เกิดปัญหาอุปสรรคหลายประการที่กล่าวมา เพราะไม่มีปัญหาเรื่องการติดตั้งลิฟท์ที่ส่งเสียงรบกวนดังมาก ไม่เกิดปัญหาฝุ่นจากการเจาะผนังอาคาร ไม่ต้องเดินผ่านพื้นอาคารที่ไม่เสร็จและมีฝุ่นซีเมนต์ รวมทั้งปัญหาความปลอดภัย และอื่นๆอีกหลายประการ และที่สำคัญก็คือ ในช่วงภาคการศึกษาที่ 1/2552 ที่ผ่านมา จะไม่เกิดภาวะฉุกละหุกเกินเหตุในการเก็บหนังสือใส่กล่องของคณาจารย์ และไม่เกิดภาวะนิสิตย้ายห้องเรียนไปยังอาคารอื่นๆที่เป็นปัญหา เพราะคณะสังคมศาสตร์สามารถวางแผนใช้อาคารเรียนทั้งอาคารได้อย่างเต็มที่ ก่อนจะย้ายไปสู่อาคารใหม่ที่ห้องทำงานสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว

สภาพการณ์ทั้งหมดที่กระผมนำเรียนมา อาจไม่ทำให้ท่านรองอธิการบดีเห็นถึงภาวะบีบค้นที่กระผมและคณาจารย์อื่นๆประสบอยู่ได้อย่างชัดเจนนัก กระผมจึงร้องขอให้ท่านรองอธิการบดีได้มาพิจารณาข้อเท็จจริงในลักษณะของการนำสืบ ณ สถานที่เกิดเหตุในช่วงเวลากลางวันและเวลาพลบค่ำด้วย(ประมาณ 6.00-6.30 น.) เพื่อจะได้เห็นถึงสภาพปัญหาที่แท้จริง เพื่อร่วมกันหาทางเยียวยาที่เหมาะสมให้แก่กระผมและคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์อื่นๆด้วย

ดังนั้น หากท่านประสงค์ให้กระผมขนย้ายสิ่งของ ซึ่งส่วนใหญ่คือเอกสารวิชาการออกจากห้องทำงานเดิมของกระผมแล้ว กระผมขอความกรุณาให้ท่านได้จัดหาที่ที่เหมาะสมในการวางสิ่งของเหล่านั้นอย่างเป็นสัดเป็นส่วน ปลอดภัย และเอื้อต่อการทำงานทางวิชาการด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง หากไม่มีห้องทำงานที่เหมาะสมสำหรับการย้ายสิ่งของเพื่อการทำงานแล้ว กระผมไม่มีหนทางอื่นใดในการเก็บรักษาเพื่อใช้งานเอกสารเหล่านั้นได้เลย กระผมหวังว่ากระผมจะไม่ถูกกดดันโดยไม่เป็นธรรม จนเสมือนไปสู่หนทางตันที่ไม่มีทางออกในสถานการณ์เช่นนี้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ


(ดร.สุรพล จรรยากูล)
อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น