วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาเรื่องภาระงานสายวิชาการของ มศว

ประเด็นที่เป็นปัญหาของหลักเกณฑ์ภาระงานสายวิชาการ
อ.สุรพล จรรยากูล

(1)ที่มาในอดีต
1.ในวันที่ 1 ส.ค. 51 สภา มศว มีมติให้ทดลองใช้หลักเกณฑ์ภาระงานสายวิชาการ เป็นเวลา 1 ปี โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่เดือน มิ.ย. 51 – ก.พ. 52 และมีการผูกโยงเรื่องเกณฑ์ภาระงานกับการเบิกจ่ายค่าสอนภาคสมทบและภาคพิเศษด้วย
2.หน่วยนับภาระงานที่สภา มศว อนุมติ คือ 35 หน่วยภาระงาน/สัปดาห์
3.ในขณะที่สภา มศว มีมติดังกล่าว ก.พ.อ. ยังมิได้มีประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานภาระงานสายวิชาการ แต่อย่างใด
4.สภา มศว กำหนดให้มีการประเมินว่า เมื่อทดลองใช้หลักเกณฑ์ภาระงานตามมติ 1 ส.ค. 52 มีปัญหาประการใดบ้าง แล้วรายงานต่อสภา มศว เพื่อพิจารณาทบทวน
5.คณะกรรมการประเมินภาระงาน ได้ดำเนินการประเมินการทดลองการใช้หลักเกณฑ์ภาระงานดังกล่าวแล้ว แต่น่าจะยังมิได้รายงานให้สภา มศว ทราบเพื่อทบทวน

(2)ที่มาของหลักเกณฑ์ภาระงานฉบับปัจจุบัน
1.ก.พ.อ.จัดทำ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ฉบับลงวันที่ 29 ตุลาคม 2551 เพื่อเป็นแนวทางให้มหาวิทยาลัยจัดทำข้อบังคับหรือระเบียบของมหาวิทยาลัยต่อไป
2.ฝ่ายบริหารนำเสนอ(ร่าง)ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒว่าด้วย มาตรฐานภาระงานทางวิชาการ ฯ พ.ศ. ...ต่อ ก.บ.บ. หลังจากนั้นจึง นำเสนอต่อสภา มศว เพื่อพิจารณาอนุมัติ และสภา มสว ไดอนุมัติข้อบังคับฉับนี้เรียบร้อยแล้ว
3.ข้อบังคับ มศว ว่าด้วยภาระงานฯ ฉบับนี้ ไม่สอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ.ที่สำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ
(1)กำหนดหน่วยภาระงานต่างจากที่ประกาศ ก.พ.อ.กำหนดไว้ว่า 35 หน่วย ช.ม./สัปดาห์/ภาคการศึกษาปกติ และ
(2)กำหนดให้การประเมินภาระงานมีผลต่อการเลื่อนขั้นเงินเดือน ซึ่งไม่มีในประกาศ ก.พ.อ.
4.ในวันที่ 2 ต.ค. 52 ฝ่ายบริหารนำเสนอหลักเกณฑ์ภาระงานฯต่อสภา มศว แต่ได้ถอนออก
5.ในวันที่ 13 ต.ค. 52 ฝ่ายบริหารนำเสนอหลักเกณฑ์ภาระงานฯ ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และที่ประชุมเห็นชอบ โดยประธานสภาคณาจารย์ฯมิได้ร่วมประชุมด้วย(มีตัวแทนร่วมประชุมแทน)
6.ในวันที่ 6 พ.ย. 52 ฝ่ายบริหารนำหลักเกณฑ์ภาระงานฯ เสนอต่อสภา มศว เพื่อขออนุมัติ โดยมิได้นำเสนอต่อ ก.บ.บ. ก่อน ดังเช่นที่เคยทำกับข้อบังคับที่มีฐานะเป็นกฎหมายแม่???

(3)ประเด็นปัญหาที่ควรพิจารณา
1.หน่วยวัดภาระงานในหลักเกณฑ์ภาระงานที่เสนอต่อสภา มศว ที่กำหนดว่า 35 หน่วยภาระงาน/สัปดาห์ ไม่เป็นไปตามที่ ประกาศ ก.พ.อ.ว่า 35 หน่วยภาระงาน/สัปดาห์/ภาคการศึกษาปกติ และเกิดผลเสียหายและไม่เป็นธรรมต่อคณาจารย์ทั้งหมด
2.การประเมินภาระงานสอน(teaching load)ด้วยหน่วยวัดที่เรียกว่า หน่วยภาระงาน/สัปดาห์ ไม่เป็นธรรมต่อคณาจารย์ เมื่อเทียบกับคิดภาระงานสอนด้วย หน่วย ช.ม./สัปดาห์/ภาคการศึกษาปกติ
3.การเทียบภาระงานที่มิใช่การสอน(non-teachjng load) ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะธรรมชาติของภารกิจของแต่ละสาขาไม่เหมือนกัน และเมื่อปฏิบัติจริง ปกฏิบัติด้วยเวลาที่นับเป็นหน่วย ช.ม. ตามนาฬิกาจริงๆ การคิดหน่วยงานเป็น หนาวยภาระงาน จึงไม่เป็นธรรมต่อคณาจารย์
4.ไม่ครอบคลุมไปถึงภารกิจงานสอนของโรงเรียนสาธิตที่แตกต่างจากของคณะ ซึ่งประกาศ ก.พ.อ. เปิดช่องให้ยืดหยุ่นได้ จึงไม่เป็นธรรมต่อคณาจารย์ในโรงเรียนสาธิตทั้งหมด
5.หน่วยวัดภาระงานที่ไม่เป็นธรรม เมื่อนำไปโยงกับการเลื่อนเงินเดือน ความไม่เป็นธรรมจะทวีคูณมากขึ้น
6.การผูกโยงเกณฑ์ภาระงานฉบับใหม่ กับการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอนภาคสบทบและภาคพิเศษนอกเวลาราชการ ซึ่งยังเป็นปัญหาค้างคาอยู่ จะทำให้ความไม่เป็นธรรมมีมากขึ้น และบั่นทอนขวัญกำลังใจมากยิ่งขึ้น
7.ไม่มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเลย ทั้งๆที่ส่งผลกระทบกับคณาจารย์ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น